การอยู่ค่ายพักแรม เมื่อถึงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นเทศกาล การเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี วันนี้เรามาศึกษาในเรื่องการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารีกันดีกว่า เพื่อเราจะได้มีความรู้ สามารถเข้าค่ายพักแรมด้วยความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง อยู่ในค่ายพักแรมอย่างปลอดภัย และมีความสุข จุดประสงค์ของการอยู่ค่ายพักแรม 1. เป็นการเรียนด้วยการกระทำ ดังนั้นงานภาคปฏิบัติจึงเป็นหัวใจของการฝึก ความรอบรู้ของผู้บังคับบัญชาฯ ความพร้อมของอุปกรณ์การฝึก และสิ่งอำนวยความสะดวก จะต้องเตรียมล่วงหน้า ตลอดเวลา อย่างเพียงพอ 2. ผู้บังคับบัญชาฯ ต้องเลือกประเภทและชนิดการอยู่ค่ายพักแรม ให้สนองความต้องการ ความสามารถ เพศและวัยของผู้เรียน ในแต่ระดับชั้น แต่ละประเภท 3. ผู้บังคับบัญชาฯ ต้องอยู่อย่างใกล้ชิดกับลูกเสือ-เนตรนารี เพื่อสังเกตความก้าวหน้า และการปฏิบัติกิจกรรม ให้บรรลุตามจุดประสงค์ของกิจกรรม โดย แนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน หรือ ห้ามปราม 4. ผู้บังคับบัญชาฯ จะต้องมีใจรักในเรื่องการอยู่ค่ายพักแรมและมีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาและหากิจกรรมเสริม เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาลูกเสือ-เนตรนารีของตนอยู่เสมอ หลักการและเหตุผลของการอยู่ค่ายพักแรม 1. การอยู่ค่ายพักแรมเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในการให้การฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารี ลูกเสือ-เนตรนารีที่ไม่ได้เข้าค่ายพักแรม หรือ ไม่เคยปฏิบัติกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมก็อาจถือได้ว่ายังไม่ได้เป็นลูกเสือ-เนตรนารีอย่างแท้จริง 2. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี เป็นบุคคลสำคัญที่จะจัดตารางการฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารีของตนเองเกี่ยวกับการอยูค่ายพักแรม 3. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารีต้องมองเห็นความสำคัญ คุณค่าของการอยู่ค่ายพักแรมอย่างแท้จริง จึงจะสามารถจัดขบวนการได้อย่างเหมาะสม 4. การอยู่ค่ายพักแรม มิใช่การแยกตัวเองออกไปจากสังคมเมือง หรือ การอยู่เป็นส่วนตัว แต่การอยู่ค่ายพักแรม คือ การสร้างประสบการณ์ของชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขกับธรรมชาติ การปรับตัวเองเข้ากับพื้นที่เพื่อนลูกเสือ-เนตรนารี ตามขบวนการของลูกเสือ-เนตรนารี ผู้บังคับบัญชาฯ ควรมีความรู้และความเข้าใจกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมเป็นอย่างดี 5. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี เมื่อคิดว่าจะพาลูกเสือ-เนตรนารีของตนเข้าค่ายพักแรม ต้องคิดโครงการว่าจะทำสิ่งใดบ้าง 6. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารีต้องถามท่านเองว่า “จะไปอยู่ค่ายพักแรมทำไม” ถ้าท่านตอบไม่ได้ ท่านจะไม่ได้รับผลสำเร็จใด ๆ ในการไปเข้าค่ายพักแรมเลย ท่านอาจประสบปัญหายุ่งยากมากยิ่งขึ้น มาตรฐานของการอยู่ค่ายพักแรมต่ำลง กิจกรรมต่าง ๆ อาจไม่ได้เตรียมไว้เลย และในที่สุดความล้มเหลวก็เกิดขึ้น โดยที่ท่านต้องศูนย์เสีย ความสุขที่ได้รับ เสียเวลาอันมีค่ายิ่ง เสียเงิน เสียโอกาส รวมทั้งเสียความรู้สึกที่ดีต่อกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมด้วย ผลที่ได้จากการอยู่ค่ายพักแรม 1. ได้มีโอกาสเรียนรู้ และรู้รักสมาชิกแต่ละบุคคลมากขึ้น จะช่วยในขบวนการเรียนรู้ได้ดี 2. เป็นการทดสอบความรู้ความสามารถของผู้บังคับบัญชาฯ ลูกเสือ-เนตรนารี ว่าจะทำหน้าที่ของตนได้ดีมากน้อยเพียงใด ประสบผลสำเร็จเพียงใด เพื่อหาโอกาสปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป 3. ส่งผลให้ลูกเสือ-เนตรนารีได้รับการศึกษาวิชาพิเศษ ได้สร้างอุปนิสัยของการเป็นพลเมืองที่ดีให้กับสมาชิก จากการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารี ต้องคิดเสมอว่า ในชีวิตนี้ ปัจจุบันนี้ โลกในยุคนี้ อาจเกิดเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ เช่น การขาดอาหาร ขาดน้ำ ขาดไฟฟ้า หรือ ความสะดวกสบายบางอย่าง ที่มนุษย์ต้องการ กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ฝึกฝนในการดำรงชีวิตที่ดีกิจกรรมหนึ่ง องค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม 1. ผู้เข้าร่วมการอยู่ค่ายพักแรม (Campers) ได้แก่ ลูกเสือ-เนตรนารี ผู้บังคับบัญชาฯ และ อื่น ๆ 2. กิจกรรม (Programme) 3. งบประมาณ (Budget) ชนิดของการอยู่ค่ายพักแรม 1. การอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือสำรอง (Pack Holiday and Day Camps) เป็นกิจกรรมเฉพาะช่วงเวลาจำกัด จัดขึ้นเพื่อเด็กลูกเสือสำรอง เป็นการศึกษาทักษะการอยู่ค่ายเบื้องต้น 2. การอยู่ค่ายพักแรมของกองลูกเสือแต่ละประเภท (The Troop Camps) เป็นกิจกรรมอยู่ค่ายพักแรมที่มีลักษณะเด่นชัด เป็นรูปธรรมมากขึ้น มีรูปแบบการฝึกอบรม มีผู้ใหญ่คอยช่วยชี้แนะ โดย ปกติใช้เวลา 2 – 3 วัน หรือ อาจถึง 7 วัน 3. การอยู่ค่ายพักแรม โดยมีอุปกรณ์ขนาดเบา (The Lightweight Standing Camps) เป็นกิจกรรมพักแรมที่พัฒนามากขึ้น มีการศึกษาถึงกิจกรรมต่าง ๆ มีรูปแบบของการใช้ชีวิตในค่ายแบบง่าย ๆ เคลื่อนย้ายไปง่าย อาจมีกิจกรรมการเดินทางไกล โดยมีเครื่องหลังของตนเอง 4. การฝึกอบรมการอยู่ค่ายพักแรม (Patrol or Training Camps) เป็นการพัฒนาจากแบบที่ 2 – 3 โดยเฉพาะการทำงานเป็นหมู่ พวก (Team Work) เช่น การฝึกอบรมนายหมู่ ฯลฯ 5. การเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรมเฉพาะที่ หรือ เฉพาะกิจ (The Hide Camps) เป็นการพัฒนาทางธรรมชาติ ทั้งจากระบบหมู่ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล จะกระทำเป็นช่วงเวลา หรือ ระยะสั้น ๆ อาจนำไปสู่ การเดินทางไกลที่มีมาตรฐานสูงยิ่งขึ้น คือ วิชาพิเศษการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม (Advanced Scout Standard Hike) 6. การพักแรมเป็นคณะร่วมกับสมาชิก (The Mobils Patrol Camps) มีลักษณะเช่นเดียวกับแบบที่ 2 อาจจะเรียกว่า ทัศนศึกษาก็ได้ การเดินทางอาจใช้ โดยเท้า เรือ จักรยาน รถยนต์ หรือ รถไฟ นายหมู่ หรือ ผู้นำ เป็นผู้นำการอยู่ค่ายพักแรม 7. การพักแรมเพื่อยังชีพ (The Suruival Camps) เป็นการอยู่ค่ายพักแรมเพื่อการเรียนรู้ และการสร้างประสบการณ์เพื่อการยังชีพไปด้วย เช่น การเรียนรู้ธรรมชาติ การประกอบอาหาร การสร้างที่พัก เป็นการส่งเสริมทักษะลูกเสือ-เนตรนารี ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 8. การพักแรมพร้อมกับกิจกรรมที่ท้าทาย (The Expedition at Home or Aboad) หมายถึงการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมที่ท้าทาย สนุกสนาน มากกว่าการอยู่ในค่ายพักแรมเพียงอย่างเดียว เช่น การไต่เขา แล่นเรือใบ หรือ อาจเป็นการเข้าค่ายเพื่อวัตถุประสงค์อย่างอื่น 9. งานชุมนุมนานาชาติ (International Camps) กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมทั้ง 8 ชนิด อาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่ออยู่ในงานชุมนุมลูกเสือ จะจัดโดยคณะลูกเสือของประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงใช้ชื่อ International Camps หรือ “World Scout Jamborees” หรือ Foreign National Camps หรือ International Scout Camps แล้วแต่สถาบัน หรือ คณะลูกเสือแห่งชาติของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด |
Sittichok .
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเข้าค่ายพักแรม
การอยู่ค่ายพักแรม
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
อาเซียน
1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม

2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ

3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้

4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก

7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส

8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ

9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว

10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ปืนหักลำเบอ12
ปืนพวกนี้ใช้สำหรับล่าสัตว์ได้เปรี่ยบในระยะไกล้
เเละเราเรียกปืนพวนี้ว่าปืนทำลายล้างก็ได้
| |||||||
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)