วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

                                                          ปืนหักลำเบอ12



ปืนพวกนี้ใช้สำหรับล่าสัตว์ได้เปรี่ยบในระยะไกล้
เเละเราเรียกปืนพวนี้ว่าปืนทำลายล้างก็ได้


 ที่มาของกระทู้นี้มันก็เริ่มมาจากว่า เพื่อนสนิทผมคนนึงที่เพิ่งจะแต่งงานมีครอบครัวไปไม่นาน คิดจะซื้อปืนไว้เฝ้าบ้านสักกระบอกเพราะที่บ้าน(บ้านแฟน) เป็นบ้านสวนต่างจังหวัดค่อนข้างเปลี่ยว ปัญหาแรกก็คือว่าความรู้เรื่องปืนของไอ้นี่มันเท่ากับศูนย์(ติดลบด้วยซ้ำ) รู้จักแต่ว่าปืนมีสองแบบ คือปืนสั้นกับปืนยาว  เง้ออ  ปัญหาที่สองก็คือ งบประมาณครับ เพิ่งจะแต่งงานมีครอบครัว เมียก็เพิ่งตั้งครรภ์ รายจ่ายแต่ละเดือนก็มาก ปืนสั้นกระบอกนึงก็เฉียดแสนคงยากแน่ ไหนจะต้องขอ ป.สามอีก ค่าลูกก็เเพงซ้อมมากไม่ได้ และปืนสั้นถ้าไม่ขยันซ้อมก็ไม่มีทางใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดไปคิดมา ผมว่ารายนี้ยังไงก็ไม่พ้นลูกซองไปได้แน่ เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะ
1.ราคาปืนไม่แพงมาก อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
2.ขออนุญาตไม่ยากเกินไป
3.เหมาะสมกับสภาพบ้านที่มันอยู่เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นบ้านสวน อันตรายจากสัตว์มีมากโดยเฉพาะงู ซึ่งมีชุมมาก มาจากไหนนักหนาก็ไม่รู้ และสำหรับสัตว์ประเภทงู ลูกซองเหมาะสมมากที่สุดแล้ว
4.ประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์สูงเกินพอสำหรับการป้องกันตัวทั้งจากสัตว์ร้ายและมนุษย์ด้วยกัน 
5.ยิงง่าย ดูแลไม่ยาก เหมาะกับเพื่อนผมซึ่งไม่ค่อยมีความรู้เรื่องปืน
6.ต่างจังหวัดก็หาลูกได้ไม่ยาก ขัดสนเอาจริงๆ ก็ยังพอหยิบยืมเอาจากเพื่อนบ้านได้ อย่างน้อยผู้ใหญ่บ้านต้องมีแน่ๆ 
คุยกับมันเเล้วมันก็เห็นด้วย ผมก็เลยขนหนังสือไปให้อ่าน พิมพ์หน้าเวปต่างๆไปให้มันดู
แต่สำหรับคนที่ไม่เคยมีความรู้มาก่อนเลยผลที่ได้หลังจากเอาหนังสือไปอ่านก็คือ งงครับ ยิ่งอ่านก็ยิ่งงง เพราะบางครั้งมันก็มีศัพท์เฉพาะ จะเข้าเวปมาหาความรู้ ที่บ้านก็ไม่มีเน็ต ผมเลยตัดสินใจว่า หาเวลาว่างไปอธิบายให้มันทราบด้วยตัวเองกับรวบรวม บทความ กระทู้ต่างๆ ที่เขียนเป็นบทความที่อ่านเข้าใจง่ายๆ หลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะไปให้มันอ่านประกอบจะดีกว่า แต่ไหนๆแล้วก็เลยคิดว่าเมื่อทำแล้ว ก็เอามาลงในเวปให้เกิดประโยชน์กับท่านอื่นๆด้วยจะดีกว่า เผื่อว่ามีคนมาอ่านและยังมีตรงไหนที่ตกหล่นหรือข้ามไปก็จะได้มีการแนะนำ สอบถาม ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านนะครับ  ที่มาก็มาจากที่ผมไปอธิบายให้เพื่อนฟังแล้วอัดเสียงไว้ และเอามาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นระเบียบ รวมทั้งตัดบางตอนที่อาจจะไม่เหมาะสมเนื่องจากภาษา และคำพูดที่ไม่สมควรจะเอามาลงในที่นี้


บทที่ 1 ลูกซองคืออะไร แล้วมันต่างกับปืนทั่วไปยังไง
"แล้วไอ้ปืนลูกซองนี้มันต่างกับปืนแบบอื่นยังไงวะ"
 ลูกซองมันก็คือปืนแบบนึงนี่แหละ  เพียงแต่ว่าเวลายิงไป แทนที่มันจะมีแค่เม็ดเดียวมันกลับมีหลายเม็ด ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะต้องการให้มันโดนเป้าหมายที่จะยิงได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องไปเล็งมาก หันปากกระบอกให้ตรง แล้วก็เหนี่ยวตูมออกไป มันต้องโดนบ้างสักเม็ดหล่ะวะ เหมาะสำหรับยิงเป้าเล็กๆ เป้าที่เคลื่อนที่เร็วๆ หรือเวลาที่มองไม่เห็นเป้าชัดๆ อย่างตอนกลางคืนแบบนี้ สมมติว่าสายยางฉีดน้ำที่เอ็งเอาไปพันไว้ตรงกิ่งไม้นั้นมันเป็นงู แล้วเอ็งจะยิงมัน มืดๆแบบนี้ถ้าเอ็งมีปืนสั้นเอ็งคิดว่าจะเล็งมันตรงไหน แล้วคิดว่าจะยิงถูกไหม แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นลูกซอง เอ็งก็ไม่ต้องเล็งไรมาก หันปืนให้ตรงแล้วเอ็งก็กดตูมเข้าไป
ลำกล้องมันก็จะไม่มีเกลียวเหมือนปืนสั้นหรือปืนยาวแบบอื่น ผิวลำกล้องมันจะเรียบ  เข้าใจยังทีนี้

บทที่ 2 ขนาดของปืนลูกซอง และประเภทของกระสุน
  เออ เข้าใจแล้ว แล้วไอ้ลูกซองนี่มันมีขนาดไหมวะ เห็นปืนสั้นมันมี 9 มันมี 11 ลูกก็ไม่เหมือนกัน เวลาไปซื้อลูก ต้องบอกเค้าว่าไง
มันก็มีขนาดของมันเหมือนกันแต่มันไม่ได้แบ่งแบบปืนอื่น ปืนแบบอื่นเอ็งก็เอาไม้บรรทัดไปวัดรูลำกล้องมัน มันกว้างเท่าไหร่ก็เรียกตามนั้น แต่ลูกซองวิธีวัดก็คือ สมมติเอ็งไปเจอปืนลูกซองกระบอกนึงแล้วอยากรู้ว่ามันขนาดอะไร เอ็งจะเอาไม้บรรทัดไปวัดรูลำกล้อง วัดได้เท่าไหร่ก็เรียกเป็นขนาดเท่าที่วัดได้แบบเดียวกับปืนสั้นไม่ได้ มันต้องใช้วิธีอื่น วีธีก็คือ ให้เอาตะกั่วก้อนกลมๆหนัก 1 ปอนด์มาก้อนนึงแล้วเอ็งก็แบ่งมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ให้มีขนาดพอดีกับรูลำกล้องของปืนที่เอ็งเจอ พอปั้นได้ขนาดพอดีแล้ว เอ็งก็เอาตะกั่วที่เหลือมาปั้นให้มีขนาดเท่ากับก้อนเมื่อกี้ ปั้นไปเรื่อยๆ พอก้อนตะกั่วหมด เอ็งก็นับดูว่ามันได้กี่ก้อน สมมติว่าได้ 10 ก้อน ก็แสดงว่า ปืนกระบอกที่เอ็งเจอมันเป็นขนาด 10 หรือเกจ 10 ปั้นได้ 12 ก้อนก็เรียก เกจ 12  เพราะฉะนั้น เลขที่ใช้บอกขนาด ยิ่งน้อยขนาดลำกล้องปืนมันก็ยิ่งใหญ่ ลูกซองเบอร์ 10 รูลำกล้องก็จะใหญ่กว่าเบอร์ 12   ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องไปสนใจมาก นั่นมันเรื่องทฤษฎี เอาปฎิบัติก็คือ ในเมืองไทยมันมีแต่ขนาด 12 แทบทั้งหมด เวลาจะไปซื้อบอกร้านแค่ว่าเอากระสุนลูกซอง ร้านเค้าก็เข้าใจแล้ว เอ็งมาสนใจเรื่องชนิดของลูกดีกว่า ว่ามันมีแบบไหนบ้าง เรื่องนี้สำคัญกว่าเยอะ

เห็นในหนังสือมันมีพูดถึงเบอร์ 410 ด้วย แล้วมันเป็นแบบไหนอีกวะ
นั่นมันก็อีกขนาดนึง อันนี้เป็นข้อยกเว้น คือมันวัดขนาดปากลำกล้องด้วยวิธีเดียวกับปืนสั้น นั่นคือวัดตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เพราะมันเล็กจนวัดแบบเดิมไม่สะดวก อย่าลืม จุด  410 เขาใช้ระบบอเมริกันที่วัดเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้อง แต่มันไม่ใช่เล็กจนวัดด้วยขนาดไม่ได้ถ้าเป็นทางยุโรป เขาเรียกว่า ขนาด 36 G ปลอกยาว 65mm[ 2 1/2 "] และ หรือ 36 G magnum  ปลอกยาว 76 mm [ 3" mag]แบบนี้มันก็หายากเหมือนกัน เมื่อก่อนพอหาได้บ้าง แต่ตอนนี้ไม่ต้องไปคิดสนใจเเล้ว หายากทั้งปืนทั้งกระสุน   
ข้อความที่ขีดเส้นใต้ พี่ Fabbri ได้กรุณาเพิ่มเติมไว้ให้นะครับ ขอขอบพระคุณครับ

  แล้วที่เค้านิยมกันมีแบบไหนบ้างวะ แบบตูนี่ต้องใช้แบบไหน
ตอนนี้นิยมกันแต่ขนาด 12เพราะมันหาง่ายสุดแล้ว ปืนลูกซองที่ขายตามร้านปืนตอนนี้มีแต่ ขนาด 12 แทบจะเรียกได้ว่า 100% เอ็งก็ต้องซื้อแบบนี้แหละ
  แล้วกระสุนหล่ะวะ เห็นมีตั้งหลายแบบ มันแบ่งยังไง
ชนิดของลูกมันดูที่ขนาดของลูกตะกั่วกลมๆ ที่ใส่ในปลอกกระสุนนี่ มันมีเป็นร้อยๆแบบ แต่เอาที่เจอบ่อยๆแล้วคนเค้านิยมกันก็แล้วกัน
แบบแรกใหญ่สุด เค้าเรียกลูกโดด ในปลอกนี่มันมีเม็ดเดียว โตพอๆกะลำกล้องนี่แหละ เอาไว้ยิงพวกสัตว์ใหญ่ๆ หนังหนาๆ อย่างเอ็งอย่างมากก็แค่งู ก็ไม่ต้องไปสนใจ
แบบที่สอง เค้าเรียก OO Buck หรือลูกเก้า ในปลอกนี่มันก็มีอยู่ 9 เม็ด แบบนี้หาง่าย ถ้าเอ็งจะเอาไปยิงคน ยิงสัตว์หนังบาง ขนาดไม่ใหญ่มาก ก็ใช้แบบนี้แหละ
แบบที่สาม ในปลอกมันจะมี เป็นสิบๆเม็ด เค้าใช้ยิงสัตว์เล็กๆ หรือเป้าบิน ถ้าเอ็งจะยิงงู ยิงนก ก็เอาไอ้แบบนี้
จริงๆก็มีอีกเยอะ แต่ตอนนี้เอ็งรู้แค่นี้ก่อน  รู้มากเดี๋ยวเอ็งก็งงอีก

เออๆ แล้วที่เค้าเรียก ลูกแรงเดียว แรงครึ่ง สองแรง ฐานสูง ฐานต่ำ ไอ้นี่มันยังไงอีกวะ
 อันนี้คนโบราณเค้าเรียกกัน คนสมัยก่อนเค้าจะดูตรงฐานที่เป็นทองเหลือง เพราะลูกปืนสมัยก่อนมันจะใส่ดินปืนไว้ตรงที่เป็นทองเหลืองหุ้ม เมื่อก่อนปลอกมันมักจะเป็นกระดาษ มันไม่แข็งแรงรับแรงระเบิดไม่ได้เลยต้องให้่มีทองเหลืองหุ้มไว้ ทีนี้ถ้าโรงงานมันใส่ดินเยอะมันก็ต้องทำฐานให้มันสูงพอดีกับดินปืน ก็เลยดูง่ายๆว่าถ้าฐานมันสูงก็แสดงว่ามันใส่ดินเยอะ ดินเยอะมันก็ถีบแรงกว่าดินน้อย แต่เดี๋ยวนี้เอ็งจะดูแบบนี้ไม่ได้เเล้ว เพราะเทคโนโลยีมันดีขึ้น ปลอกกระสุนก็คุณภาพสูงขึ้น อยากได้แรงๆก็ไม่จำเป็นว่าต้องใส่ดินเยอะๆเหมือนสมัยก่อนเเล้ว ฐานปลอกจะสูงจะเตี้ยมันใช้ตัดสินไม่ได้อีกแล้ว

แล้วที่เรียกว่า ลูก 2 3/4 สามนิ้ว สามนิ้วครึ่งหล่ะ
อันนี้ใช้เรียกความยาวปลอกกระสุน แต่ไม่ใช่ปลอกที่ยังไม่ยิงนะ ต้องปลอกที่ยิงแล้ว
- 2 3/4 นิ้ว คือมีความยาวปลอก 2 3/4 นิ้ว หรือ 70 มิลฯ 99% ของกระสุนลูกซองที่มีขายและใช้กันในเมืองไทยเป็นกระสุนแบบนี้ทั้งนั้น
- กระสุนแม๊กนั่ม 3 นิ้ว ความยาวปลอก 3 นิ้ว ทำให้ใส่ดินขับกับเม็ดลูกปรายได้มากขึ้น นิยมใช้กับกระสุนที่ออกแบบมาเพื่อใช้ล่าสัตว์ ในเมืองไทยหาซื้อค่อนข้างยาก ราคานัดนึงไม่ต่ำกว่า 100 บาท
- กระสุน 3 1/2 นิ้วแม็กนั่ม แรงไปอีกขั้นนึง ส่วนใหญ่ใช้กับกระสุนที่ใช้ลูกปรายเหล็ก สำหรับบางพื้นที่ในสหรัฐที่ไม่อนุญาตให้ใช้กระสุนลูกปรายตะกั่ว เมืองไทยหาแทบไม่ได้  ถ้ามีมาราคาก็น่าจะเกินนัดละ 200
ที่ทำแบบนี้ก็เพราะมันต้องการให้ใส่ลูกปรายได้มากขึ้น เพราะปลอกยาวขึ้นเนื้อที่มันก็มากขึ้น

แล้วลูกแต่ละแบบนี้มันเอามาใช้กับปืนกระบอกเดี่ยวกันได้ไหมวะ
ถ้าเอ็งจะเอาลูกเบอร์ 10 ไปยิงในปืนเบอร์ 12 แบบนี้ไม่ได้ ต้องเบอร์เดียวกันถึงจะเอามายิงได้ ขอให้มันเป็นเบอร์เดียวกันเถอะเอามายิงได้หมด แต่ถ้าเป็นลูก 3 นิ้วหรือ 3 นิ้วครึ่ง เอ็งต้องดูปืนก่อนว่ารับได้ไหม ถ้ามันบอกว่ายิงได้ก็ไม่มีปัญหา เรื่องนี้เอ็งไม่ต้องกังวล ลูก 2 3/4 นิ้วกับ 3 นิ้ว ปืนรุ่นใหม่มันยิงได้หมด มีแต่ 3 นิ้วครึ่ง ที่ต้องดูก่อนว่าปืนเอ็งใช้ได้ไหม ว่าแต่ว่าเอ็งจะไปหาลูก 3 นิ้วครึ่งมาจากไหนวะ 

อ่านเจอในหนังสือ มันมีเขียนถึงเรื่องหมอนรองกระสุน อันนี้มันอะไรวะ
หมอนกระสุนก็คือ วัสดุที่เอาไว้ใส่ในปลอกกระสุนเพื่อป้องกัน หรือคอยประครองกระสุน รวมถึงทำให้ม่านกระสุนมันกระจายตัวเป็นระเีบียบ เมื่อก่อนมีหลายแบบ ทั้งจาก กระดาษ สักหลาด แต่มันไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ทำก็ยาก ก็เลยเปลี่ยนเป็นพลาสติกกันหมดแล้ว แต่ยัง มีกระสุนที่ทำจาก ปลอกกระดาษ และ หมอน สักหลาด หรือ ไม้ก็อก จะเป็นแผ่นกลมๆ เอาไว้เป็นตัวคั่น ไม่ให้ดินปืน ไหลไปผสมกับเม็ดกระสุน รวมถึง ดันหรือประคองเม็ดกระสุน ให้ วิ่งไปในลำกล้อง ไม่ใช่ถ้วยเหมือนที่เราเห็นกันอยู่ แต่ราคาจะแพง ถ้าเป็นกระสุนสำหรับแข่งขัน และจะถูก ถ้าเป็นกระสุนคุณภาพต่ำ
ปัจจุบันที่เราเห็นเป็น ถ้วย เพราะ ทำได้ เร็วและ ง่าย รวมถึงการทำลำกล้องและโช๊ค ง่ายขึ้นถูกขึ้น

ข้อความที่ขีดเส้นใต้ พี่ Fabbri ได้กรุณาเพิ่มเติมไว้ให้นะครับ ขอขอบพระคุณครับ

บทที่ 3 ลำกล้อง โช๊ค และม่านกระสุน
แล้วไอเรื่องนี้หล่ะวะ โช๊ค มันคืออะไร เหมือนโช๊ครถมอไซไหมวะ
คนละเรื่องเลยเฟ้ย โช๊คนี่หน่ะมันเอาไว้คุมม่านกระสุน เอ็งก็รู้แล้วนี่ ว่าลูกซองมันยิงออกไปเป็นที่ละหลายเม็ด ถ้าปล่อยมันพุ่งไปตามมีตามเกิดโดยไม่มีอะไรคอยคุมมันก็กระจายไม่เป็นระเบียบอาจยิงแล้วไม่โดนเป้าก็ได้ ก็เลยต้องมีโช๊คเอาไว้คอยจัดระเบียบมัน

(เรื่องของลำลก้อง โช๊ค และม่านกระสุน ผมให้เพื่อนอ่านเอาจากบทความของพี่ Fabbri "วงจรอุบาทว์ของปืนลูกซอง" เลยขออนุญาติ พี่ Fabbri คัดลอกบทความของพี่มาอ้างอิงในกระทู้นี่นะครับ)  ธุจ้า

เมื่อเล่าถึงโช๊ค ทุกครั้ง ก็ต้องให้ท่านนี้ สาธยาย ดังต่อไปนี้
ผมขออ้างถึงข้อความของท่าน Aotนะครับ

โช็ค Choke

ส่วน ปลายของลำกล้องปืนลูกซองจะมีตัวท่อควบคุมกลุ่มกระสุน(ที่เรียกกันว่า โช้ค :CHOKE)  มีทั้งชนิดที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของปลายลำกล้องเลยหรือแบบติดตั้งเพิ่มเติม  ถอดเปลี่ยนได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้กลุ่มหรือม่านกระสุน(Pattern) กว้างหรือบีบให้แคบตามระยะยิงที่เหมาะสมกับประเภทของเป้าหมายที่จะยิง

-ถ้า ต้องการบีบกลุ่ม/ม่านกระสุนให้แคบมากๆหรือบานน้อยมากจะใช้ ฟูลโช้ค (Full Choke) ใช้สัญญลักษณ์รูป *  แสดงถึงม่านกระสุนแคบมาก หรือย่อด้วยอักษร F
-ม่านกระสุนแผ่กว้างขึ้นมากกว่าFull Choke อีกนิดเรียกว่า อิมพรูฟโมดิฟายด์โช้ค ( Improve Modified )หรือ  IM( **)
-ม่านกระสุนบีบหรือแคบปานกลางเรียก โมดิฟายด์โช้ค (Modified Choke) หรือ M (***)
-ม่านกระสุนบีบเล็กน้อยเรียก อิมพรูฟซิลินเดอร์โช้ค( Improved Cylinder)หรือ IC(****)
-และท่อตรงๆ ไม่บีบเลยหรือบานมากที่สุดหรือไม่มีChokeเลยเรียก ซิลินเดอร์โช้ค (Cylinder Choke)หรือ C(*****)

2.ระยะหวังผลของโช้ค

-Full Choke จะมีระยะหวังผล(Effective Range)ที่ระยะ50หลาขึ้นไปคือที่ระยะประมาณ50หลา ม่านกระสุนส่วนใหญ่จะอยู่ในเป้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง30นิ้วเป็นส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับยิงสัตว์ปีกบินสูงๆหรือยิงแนวราบระยะปานกลางถึงระยะไกล แต่ลำกล้องที่ใช้ก็ยาวเกะกะหน่อยประมาณ 30-32นิ้ว

-Modified จะมีระยะหวังผลที่ระยะ 35 -45หลาเอาไว้ยิงสัตว์ปีก  นกเป็ดน้ำ  ไก่ป่า กระทาดง สัตว์หากินตามทุ่งเช่นกระต่าย หรือสัตว์สี่เท้าพวกเก้ง กวางในระยะปานกลาง ลำกล้องปืนที่ใช้มักยาว24-28นิ้ว

-Improved Cylinder จะมีระยะหวังผลที่ระยะ 25-35หลา เหมาะกับการต่อสู้ป้องกันตัวในระยะใกล้-ปานกลาง ใช้ล่าสัตว์ก็ยังได้ และโช้คขนาดนี้ยังเหมาะสำหรับการยิงด้วยกระสุนลูกโดดด้วย ลำกล้องปืนที่ใช้โช้คแบบนี้มักยาวประมาณ 20-22นิ้ว

-Cylinderหรือท่อตรง(ไม่มีโช้ค) จะมีระยะหวังผลที่ระยะ 20-25 หลา ใช้เฝ้าบ้าน สวน ไร่นาดีมาก ก็คล้ายๆกับImproved Cylinderครับ ปืนลูกซองลำกล้องยาว18นิ้วเช่นปืนปราบจลาจล Remington 870 Police ที่ตำรวจนิยมใช้มักจะไม่มีโช้คเพื่อหวังผลการยิงระยะใกล้ๆให้ม่านกระสุนบาน เร็ว ครอบคลุมเป้าขนาด(หุ่น)คน

-Remingtonได้ทำการยิงทดสอบด้วยปืน ลูกซอง12เกจลำกล้องยาว30นิ้วกับเป้าวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง30นิ้ว ที่ระยะ40หลาเท่ากันทุกโช้คแล้วจะพบว่า
-Full Chokeจะมีจำนวนเม็ดกระสุนถูกเป้าประมาณ70%ของจำนวนเม็ดกระสุนทั้งหมด
-Modified ประมาณ 60%
-Improved Cylinder 50%
-Cylinder 40%
3.ขีปนวิถี(Ballistics)

 โดย ทั่วไปมักทดสอบตำบลกระสุนตก(Trajectory)กับลูกโดด เพราะมีคุณลักษณะเทียบเคียงได้กับกระสุนไรเฟิ้ล เช่นกระสุนลูกโดดRifled Slug ของFederal 2.75 นิ้ว12เกจ น้ำหนักหัว1 ออนซ์  Max Dramยิงจากลำกล้อง30นิ้ว กรณีตั้งศูนย์พอดี(Zero)ที่50หลา
-ที่ระยะ25หลา มีความเร็ว1460ฟุต/วินาที แรงปะทะ2075ฟุต-ปอนด์ กระสุนจะสูงจากจุดเล็ง 0.3 นิ้ว
-ที่50หลา ความเร็วลดลงเหลือ1330ฟุต/วินาที แรงปะทะ1725ฟุต-ปอนด์ กระสุนจะตรงจุดเล็งพอดี
-ที่75หลาความเร็วลดลงเหลือ1220ฟุต/วินาที แรงปะทะ1450ฟุต-ปอนด์ กระสุนจะต่ำกว่าจุดเล็ง -1.5นิ้ว
-ที่100หลา ความเร็วลดลงเหลือ1130ฟุต/วินาที แรงปะทะ1245ฟุต-ปอนด์ กระสุนจะต่ำกว่าจุดเล็ง -4.4นิ้ว (จะเห็นได้ว่าถ้าเลือกประเภทกระสุน เลือกความยาวลำกล้องและเลือกโช้คที่เหมาะสมแล้ว ปืนลูกซองก็มีความสามารถในการล่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในระยะ100หลาหรือมากกว่าก็ยังมีความเร็วและ แรงปะทะที่สูง สามารถทดแทนปืนไรเฟิลในบางสถานการณ์ได้)
ถ้าจะดูเฉพาะระยะไกลสุดที่ กระสุนสามารถไปถึง โดยยิงจากมุมเงยลำกล้องที่30องศาแล้ว ลูกเบอร์(Bird Shot)และลูกBuckจะมีการเตือนว่าไปได้ไกลถึง 1 ไมล์ ส่วนลูกโดดจะไปได้ถึง1-1.5ไมล์

   เส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องปืนลูกซอง12เกจจะเป็นมาตรฐานเดียวกันคือ 0.729นิ้ว ถ้ามีหรือใส่Chokeเข้าไปก็จะบีบปลายลำกล้องเข้ามาอีกเล็กน้อย ตามมาตรฐานของแต่ละประเทศ ปืนและกระสุนลูกซองมีมาตรฐานต่างกันไปบ้าง ทั้งของอเมริกา อังกฤษ ยุโรป อิตาลี แม้แต่ประเทศเดียวกันอาจมีความแตกต่างกันไปได้อีกตามโรงงานผู้ผลิต หรือตามภูมิภาค แต่ถ้าไม่อยากสับสนจำมาตรฐานอเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดไว้ก็พอ ประเทศอื่นๆมักระบุขนาดเทียบกับของอเมริกันไว้เสมอ

American Constriction (12 gauge)
Cylinder 0.000 (ไม่มีโช้คหรือCylinder Choke)
Skeet  บีบเข้ามาอีก 0.005 inch
Improved Cylinder 0.010
Modified 0.020
Improved Modified  0.030
Full choke 0.040

British Constriction
True cylinder (or skeetของอังกฤษ) 0.000 (เหมือนCylinderอเมริกัน)
Improved cylinder 0.005 (ต่างกับอเมริกัน)
¼-choke 0.010(เท่ากับ Improved Cylinderของอเมริกัน)
½-choke 0.020 (เท่ากับModifiedของอเมริกัน)
 ¾-choke 0.030 (เท่ากับ Improved Modified ของอเมริกัน)
Full choke 0.040

ถ้า ตัวปืนระบุว่าใช้โช้ค 0.729 inch ก็คงเป็นโช้คแบบCylinder Choke ซึ่งไม่ต้องการให้มีการบีบกลุ่มกระสุนเลย อย่างไรก็ตามก็ควรดูรหัสหรือตัวเลขที่ตัวปืนหรือคู่มือแบบที่คุณลูกซองสั้น ว่ามาประกอบกันด้วยครับ
ขอปรับปรุงตัวเลขเศษส่วนนิดหน่อยครับ คือไปCopyตัวเลขเศษส่วนมาแล้วมันไม่ยอมขึ้น เอาใหม่นะครับ

1/4 choke 0.010(เท่ากับ Improved Cylinderของอเมริกัน)
1/2choke 0.020 (เท่ากับModifiedของอเมริกัน)
3/4 choke 0.030 (เท่ากับ Improved Modified ของอเมริกัน

โช้ค ปืนลูกซองแบบถอดเปลี่ยนได้หลายแบบนั้น เขาจะทำเกลียวที่ส่วนปลายภายในลำกล้องมาให้ในตัวสำหรับใส่กับโช้คของยี่ห้อ นั้นๆครับเช่นRem Choke หรือWin Choke หรือเบเนลลี่และมีโช้คแถมมาให้1-5ขนาด แล้วแต่รุ่น ซึ่งต้องใช้เครื่องมือถอดที่แถมมาให้ ถ้ามีเกลียวมาให้แล้วต้องใส่โช้คตัวใดตัวหนึ่งไว้เสมอ ไม่งั้นกระสุนลูกปรายจะครูดเกลียวสำหรับใส่โช้คเสียหายได้ ส่วนลูกซองที่ทำปลายลำกล้องภายในเป็นโช้คในตัวเช่นImproved Cylinder ในRem870 20นิ้วหรือ Full Chokeในเดี่ยวไบคาลจะไม่ทำเกลียวมาให้ถอดเปลี่ยนโช้ค และไม่แนะนำให้ไปดัดแปลงทำเกลียวเพิ่มเติมที่หลังด้วย

-ส่วนโช้ค แบบcylinder(หรือไม่มีโช้ค)ผมก็ไม่ทราบว่าจะสามารถให้ช่างดัดแปลงทำเกลียว ติดโช้คเพิ่มเติมที่หลังได้หรือไม่ หรือถ้าได้ก็ไม่รู้จะทำไปทำไม ผิดวัตถุประสงค์สำหรับCylinderที่ต้องการให้ม่านกระสุนบานมาก สำหรับยิงระยะใกล้ๆ

เราคุยกันเรื่องลำกล้องต่อดีกว่า

      ลำกล้องปืนประกอบด้วย รังเพลิง คอรังเพลิง ลำกล้อง และโชค็ กระสุนสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 จะทำด้วยกระดาษ ส่วนฐานจะเป็นเหล็กหรือทองเหลือง ภายในจะประกอบด้วย แก๊ป ดินปืน แผ่นหมอนทำด้วยสักหลาด หรือ ไม้ค็อก เม็ดกะสุนขนาดต่างๆ ปิดทับบนสุดด้วยกระดาษแล้วเม้มปากเพื่อ ไม่ให้กระสุนรั่วออกมา เมื่อบรรจุกระสุนแล้วยิง ดินปืนก็จะเผาไหม้เป็นแก็ส ดันหมอนพร้อมเม็ดกระสุนไปตามลำกล้อง จนถึงปลายลำกล้องที่เป็นโช๊ค
ลำ กล้องที่ดี คอรังเพลิงจะต้องพอดีกับปลายปลอกกระสุน และ ไม่มีรอยสะดุด เพื่อประคองหมอนกับกระสุบให้คงลักษณะเดิม รวมถึงลำกล้องก็ต้องพอดีกับหมอนทั้งเส้นผ่า ศูนย์กลาง และเส้นรอบวง เพราะถ้าคอรังเพลิงกับลำกล้องไม่ดีแล้ว แก๊สจะรั่วแซงหมอนออกไปบางจุดก็จะทำให้ หมอนเดินทางเสียรูป เม็ดกระสุนก็จะถูกแก้สตีทำให้เม็ดกระสุนไม่เป็นระเบียบ ลำกล้องปืนต้องกลมสม่ำเสมอตลอดโคนจดปลาย
แต่ปัจจุบันลำกล้องปืนไม่ต้องทำ พิถีพิถัน มากนัก ที่ทำดีก็ทำเลวลงที่ทำไม่ดีก็ยิ่งแย่ลง เพราะหลังสงครามโลก กระสุนลูกซองทำด้วยพลาสติกและภายในไม่ใช้หมอนสักหลาดหรือไม้คอ็ก แต่ใช้เป็นถ้วยพลาสติกใส่เม็ดกระสุน เพื่อประคองให้กระสุนอยู่ในทีของมันไปจนจดปลาย แต่จะมีปัญหาเหมือนกัน คือถ้วยแต่ละโรงงานทำไม่เท่ากัน เราจึงพบว่าปืนกระบอกนี้ถูกกับกระสุนยี่ห้อนี้ ถ้าใช้ผิดแบบหรือยี่ห้อ ม่านกระสุนก็จะไม่ดี โรงงานปืนบางโรงงาน เลยทำกระสุนเองด้วย ปัญหาอีกอย่างคือใช้กระสุนไม่ถูกกับรังเพลิง ปืนปัจจุบัน มักจะเป็นขนาด 12 G ยาว 70มม( 2 3/4นิ้ว) ถ้าเอากระสุนยาว 65มม ( 2 5/8นิ้ว ) มาใส่ยิงปลอกก็จะไม่เต็มบ่าคอรังเพลิงแก็สก็จะไปตีถ้วยให้เสียแนวได้ หรือ เอา 76 มม ( 3 นิ้ว )ไปยิงในปืน70มม ปลายปลอกก็จะไปทับคอปืนทำให้ถ้วยถูกบีบลงก็จะเสียอีกเช่นกัน
เมื่อกระสุน วิ่งมาถึงส่วนปลายก็จะพบกับโช๊ค ส่วนนี้จะเป็นตัวบังคับให้กระสุนแคบหรือกว้าง ก็อันนี้ที่สำคัญสำหรับเราว่าจะเอาปืนไปยิงอะไร ยิงใกล้หรือไกล ถ้าใกล้ก็ใช้โช๊คกว้าง ยิงไกลก็แคบ มี หลายความหมายที่ใช้เรียกกัน เป็นอักษรก็ s\\k , Cylinder,  Improved Cylinder , Modified , Improved Modified , Full Choke ใช้ เลข ก็ 2,4,6,8,10 ถ้าใช้ดาวกลับกับ ๐๐๐๐๐,๐๐๐๐,๐๐๐,๐๐,๐ ดาวเดียวแคบ ดาวมากกว้าง ลำกล้องที่ดี ม่านกระสุนเมื่อยิงไปแล้ว ต้องหนาแน่นในวงกลม 30 นิ้ว และที่สำคัญก็ต้องมีช่องไฟของเม็ดกระสุนได้ระเบียบ ถี่ ห่างต้องเท่ากัน  ระยะการยิงต้องแล้วแต่โช๊ค  ลำกล้องไม่ดี ม่านกระสุนจะเป็นรูปวงรีบ้าง เม็ดกระสุนจะไปกระจุกเป็นจุดๆ ไม่สม่ำเสมอ หรือเป็นวงแหวน เม็ดกระสุนจะมีที่ขอบ ตรงกลางจะโล่งโจ้ง
โช๊คที่ดีต้องปรับด้วยมือ คือยิงแล้วม่านกระสุนเบี้ยว ก็ใช้ แปรงสักหลาดชุบกากเพชร ขัดแต่งภายในลำกล้องส่วนที่เป็นโช๊ค จนได้ม่านกระสุนที่ต้องการ
รังเพลิง (Chamber) เป็นห้องกระสุนอยู่ส่วนโคนลำกล้องจะมีขนาดโตกว่าลำกล้องเล็กน้อยเนื่องจาก ปลอกกระสุน จะหนามากเมื่อเทียบกับกระสุนชนิดอื่นๆ ในปืนขนาด 12g จะมีช่วงยาวของรังเพลิงหลายขนาด 2   2 1/2  2 5/8  2 3/4  3  31/2 นิ้ว
รังเพลิงสำหรับปืนที่ใช้ในกีฬายิงเป้าบินจะมีขนาดรังเพลิงยาว 2 3/4นิ้วหรือ 70mm ทั้งขนาด 20และ 12g
เครคิต คุณ Fabbri พี่ใหญ่แห่ง "หมู่บ้านลูกซอง" http://www.gun.in.th/2010/index.php?topic=276.0  ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ

บทที่ 4 การทำงานและรูปแบบของปืนลูกซอง
แล้วปืนลูกซองนี่มันมีกี่แบบวะ 
มันมีสารพัดแบบเท่าที่จะคิดขึ้นมาได้นั่นแหละ
1.ลูกซองเดี่ยว
2.ลูกซองปั๊ม
3.คานเหวียง
4.ลูกเลื่อน
5.กึ่งอัตโนมัติ
6.แฝดขนาน
7.แฝดซ้อน
8.แฝด 3-4 ลำกล้อง
9.แฝดผสม
10.อัตโนมัติ (Full Auto)

แต่ละแบบมันก็เหมาะสมกับการใช้งานไม่เหมือนกัน ในบ้านเราก็มีให้เห็นทุกแบบนั่นแหละ (ยกเว้นแบบที่ 10)
ที่เยอะหน่อยก็ 5 แบบ คือ ปั๊ม กึ่งอัตโนมัติ เดี่ยว แฝดซ้อน แฝดขนาน ข้อดีข้อเสียมันก็ต่างกัน ปืนเดี่ยวกับแฝดคงไม่ต้องอธิบายไรมากนะเพราะการทำงานมันง่ายๆ ตรงไปตรงมาอยู่้แล้ว  ข้อดีก็คือมันทน ราคาถูก ใช้งานง่าย แต่เสียตรงที่มันจุกระสุนน้อย ถ้าเอาไว้ล่าสัตว์มันก็เหมาะ แต่ถ้าเอาไว้เฝ้าบ้านป้องกันตัว มันจุลูกน้อยไปหน่อย เอ็งไม่ได้เล่นปืนกะเอามาใช้งาน ก็อย่าเพิ่งไปสนใจ เอาแบบที่มันคุ้มกว่าก่อน ถ้าชอบก็ค่อยมาซื้อเก็บทีหลัง

แฝด 3-4 ลำกล้องหน่ะเข้าใจ แต่ไอ้แฝดผสมนี่มันเป็นยังไงวะ
ก็แบบเดียวกับปืนแฝดทั่วไปนี่แหละ มีหลายลำกล้องเหมือนกันแต่ใช้กระสุนคนละแบบกัน อย่างเช่นลำกล้องบนเป็นลูกซองเกจ 12 แต่ลำกล้องล่างเป็นลำกล้องไรเฟิล ส่วนใหญ่ก็ออกแบบไว้ใช้ล่าสัตว์ ถ้าเอ็งเข้าป่าแล้วใช้ปืนแบบนี้ก็เหมือนกับว่าเอ็งเอาปืนไปสองกระบอก
เลือกใช้ได้ตามต้องการ เจอสัตว์ใหญ่ก็ใช้ไรเฟิล จะเอาสัตว์เล็กก็ใช้ลูกซอง ในเมืองไทยก็มีเหมือนกัน เจ้าของเก็บเอาไว้เก็บเป็นปืนสะสมมากกว่าจะเอามาใช้งาน

เออ แล้วอย่างตูนี่เอ็งแนะนำแบบไหนวะ
อย่างเอ็งแนะนำสองแบบคือปั๊มกะออโต้ จะเอาแบบไหนก็เลือกเอาตามชอบ

งั้นเอาปั๊มแบบปั๊มก่อน ไอ้ปืนแบบนี้มันทำงานยังไงวะ
ก็ง่ายๆ ปืนแบบนี้มันก็ใช้แรงเอ็งนี่แหละบริหารปืน เอ็งดึงกระโจมมือมันเข้าหาตัว ลูกเลื่อนมันก็ถอยตาม ขอรั้งมันก็ดึงเอากระสุนออกจากรังเพลิง พอเอ็งดันกลับลูกเลื่อนมันดันลูกใหม่เข้ารังเพลิง ตรงๆง่ายๆ แต่ทนชิ..หายเลย ข้อดีข้อเสียมันเป็นงี้
ข้อดี
- ไม่เลือกลูก แรงอ่อน แรงต่ำไม่มีปัญหามันเคี้ยวได้หมด
- ราคาถูกกว่า
- การดูแลรักษาทำได้ง่าย
- กลไกการทำงานไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนขนาดเเล็กน้อยชิ้น ทำให้แข็งแรงทนทาน
- โอกาสขัดลำหรือไม่คัดปลอกมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย
- สามารถเปลี่ยนพานท้ายเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลายแบบตามต้องการ จะใช้ แบบด้ามสั้น,พานท้ายแบบพิสตอลกริฟ,แบบพับฐาน,แบบยืด-หดได้ ก็สามารถใส่ได้ทั้งนั้น
- หากต้องการความคล่องตัวสามารถตัดลำกล้องให้สั้นลงได้เท่าที่ต้องการโดยไม่ทำให้กลไกการทำงานของปืนติดขัด
- สามารถถอดเปลี่ยนลำกล้องให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานได้หลากหลาย โดยสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว (ในต่างประเทศ)
- เสียงที่เกิดจากการบริหารกระโจมมือเพื่อบริหารกลไก มีผลทางจิตวิทยาในการข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม

ข้อเสีย
- ยิงซ้ำได้ช้ากว่าปืนออโต้(แต่ถ้าฝึกใช้จนชำนาญก็สามารถยิงซ้ำได้เร็วพอๆกันหรืออาจเร็วกว่า)
- ผู้ใช้ต้องฝึกฝนการใช้งานให้คุ้นเคยถึงจะสามารถใช้ปืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เมื่อใช้กระสุนแบบเดียวกันแรงรีคอยล์จากปืนปั๊มจะมากกว่าแบบออโต้เล็กน้อย
- หากจำเป็นต้องยิงโดยใช้แขนเพียงข้างเดียวการยิงติดต่อกันอย่างรวดเร็วจะไม่สามารถทำได้
- หากต้องยิงในท่าที่ร่างกายหมอบราบกับพื้นปืนแบบปั๊มจะยิงได้ลำบากกว่า แบบออโต้ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21,02, 2011, 00:26:00 โดย Pachara » บันทึกการเข้า

ปืน มีด หนังสือ ภาพยนต์ เครื่องเสียง ซิปโป้ และแมนยูฯ แค่มีครบก็สุขแล้ว

« ตอบ #1 เมื่อ: 23,12, 2010, 14:06:56 »

เออเข้าใจแล้ว ทีนี้แบบออโต้หล่ะ เป็นยังไงวะ
แบบนี้ก็คือปืนมันจะทำงานของมันเอง หน้าที่เอ็งก็แค่ยกปืนขึ้นมา เอาลูกใส่ หันปืนให้ตรงเป้า กับเหนี่ยวไก แล้วก็ใส่ลูกตอนมันหมด แค่นี้ เรื่องอื่นปืนมันทำให้เอง
การทำงานมันก็มีสารพัดแบบ ที่นิยมกันก็มี 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1.รีคอยล์ช่วงยาว
เอ็งลองนึกภาพตามนะ พอกระสุนมันระเบิดปุ๊ปมันจะมีแรงดันมาทางด้านหลังใช่ไหม คนที่คิดก็เลยเอาแรงที่ว่านี่มาใช้จะได้ไม่ต้องไช้แรงคนดึงปลอกออกจากรังเพลิงเหมือนปืนปั๊ม  ถ้าลูกเลื่อนที่ปิดอยู่ด้านหลังไม่มีอะไรมากั้นมันก็ต้องถอยหลังมาเพราะกระสุนมันดันใช่ไหม ทีนี้พอกระสุนมันดันลูกเลื่อนมาจนสุด ปลอกกระสุนมันก็กระเด็นออกไป สปริงที่อยู่หลังลูกเลื่อนมันก็จะดันให้ลูกเลื่อนเดินหน้าผลักเอากระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิง มันก็แค่นี้ ฟังเหมือนง่าย แต่พอทำจริงๆมันไม่ง่ายงั้นอ่ะดิ เพราะแรงที่ว่านี่มันจะดันมาด้านหลังทันทีที่กระสุนระเบิด ขืนปล่อยให้มันหลุดออกมาตอนนั้น คนยิงก็หน้าตาบรรลัยหมด เลยต้องถ่วงเวลาให้แรงดันมันลดก่อนแล้วค่อยปล่อยให้มันหลุดออกมา ตรงนี้แหละที่ยาก ระบบแรกที่เอามาใช้ได้ผลก็คือ ระบบรีคอยล์ช่วงยาว หลักการมันก็คือ ล็อคลูกเลื่อนกับลำกล้องให้ติดด้วยกันก่อน พอกระสุนลั่นทั้งลำกล้องทั้งลูกเลื่อนมันก็ถอยหลังมาพร้อมกัน พอแรงดันลดลำกล้องก็จะหยุดถอยหลังปล่อยให้ลูกเลื่อนลากปลอกที่ยิงแล้วออกมา สปริงมันก็ดันลูกเลื่อนเดินหน้าผลักเอากระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิงไป แต่ไอ้ระบบนี้ลำกล้องทั้งดุ้นมันถอยหลังมาด้วยแรงถีบมันก็เลยมากกว่าที่ควรจะเป็น ยิงกันนานๆก็มีไหล่ทรุดกันบ้าง ต่อมาคนเลยคิดระบบใหม่ขึ้นมา ก็คือระบบที่สอง
2.ระบบแก็สออฟเพอร์เรท
ระบบนี้ลำกล้องมันจะไม่เคลื่อนถอยหลังมาด้วย แต่จะใช้แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินขับมาช่วยดันลูกเลื่อน ผลดีก็คือมันถีบเบากว่าเพราะแก๊สส่วนหนึ่งถูกเอามาใช้ดันลูกเลื่อน แต่มันก็มีข้อเสียคือถ้ารูแก๊สมันตันเพราะยิงมากๆ มีเขม่า มีเศษตะกั่วไปอุดช่องแก๊ส แก๊สไม่พอไปดันลูกเลื่อนมันก็ติด หรือว่ากระสุนที่เอ็งเอามาใช้มันแรงต่ำแก๊สน้อย แก๊สก็อาจไม่พอไปดันลูกเลื่อนทำให้ปืนขัดได้เหมือนกัน แต่ข้อหลังนี้ไม่ต้องกังวลมากนัก โรงงานมันแก้ปัญหานี้ได้แล้ว และปืนส่วนใหญ่เกิน 80 เปอร์เซ็น เป็นระบบนี้ทั้งนั้น
3.ระบบรีคอยล์ถ่วงเวลาด้วยลูกเลื่อนหมุนตัวขัดกลอน
ระบบนี้มันมีแค่สองยี่ห้อ คือเบเนลลีกับสโตเกอร์ ยี่ห้ออื่นเลียนแบบไม่ได้เพราะติดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งสองยี่ห้อนี้มันมีเจ้าของคนเดียวกัน คือบริษัทเบเรตต้า เรื่องลิขสิทธิ์เลยไม่มีปัญหา
ข้อดีของปืนระบบนี้ก็คือ การทำงานเชื่่อถือได้ ไม่เลือกลูก แรงต่ำ,แรงสูงยิงได้หมด การทำความสะอาดก็ง่ายแบบเดียวกับปืนปั๊มคือล้างแค่ตัวลำกล้องกับหน้าลูก เลื่อนก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องไปใส่ใจกับการทำความสะอาดรูแก๊สหรือลูกสูบอย่างปืนที่ใช้ระบบแก๊ส ยิงติดต่อกันนานก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเขม่าหรือเศษตะกั่วจะไปอุดช่องแก๊สทำ ให้ปืนทำงานติดขัด ปืนแบบแก๊สหากยิงติดต่อกันนานๆกระโจมมือจะร้อนขึ้นเรื่อยๆเพราะมักจะออกแบบ ให้มีลูกสูบอยู่ใต้ลำกล้องแล้วเอากระโจมมือครอบปิดไว้ ความร้อนของแก๊สก็จะทำให้กระโจมมือร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ปืนระบบรีคอยล์อย่างสโตเกอร์และเบเนลลี่ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ทำให้มันได้เปรียบปืนลูกซองออโต้แบบอื่นๆ ดังนี้
- มีขนาดกะทัดรัดกว่าปืนออโต้ฯรุ่นอื่น คือมีขนาดใกล้เคียงกับเรมิงตัน 870  แถมน้ำหนักยังเบากว่า 870 เสียอีก เพราะโครงปืนทำด้วยอลูมีเนียมเกรดสูงแบบที่ใช้ทำเครื่องบิน
- ระบบการทำงานแบบนี้ทำให้สามารถออกแบบปืนให้มีลำกล้องสั้นได้เท่าที่ต้องการ จะให้ยาวเลยส่วนหน้าสุดของรังเพลิงมาแค่คืบเดียวก็ยังได้ โดยที่ปืนระบบแก๊ส ทำอย่างนั้นไม่ได้  เพราะความยาวลำกล้อง มีผลต่อการทำงานของปืน ถ้าลำกล้องสั้นเกินไปแรงดันแก๊สที่จะไปบริหารกลไกมีไม่พอปืนก็ติดขัด
- สามารถสามารถเปลี่ยนพานท้ายได้หลายแบบเช่นเดียวกับปืนแบบปั๊ม ในขณะที่ปืนลูกซองออโต้ฯรุ่นอื่นๆมักจะใส่ปริงรีคอยล์ไว้ในพานท้ายทำให้ไม่ สามารถเปลี่ยนแบบพานท้ายได้
ส่วนหลักการของการทำงานของระบบก็ นี้คือ ลูกเลื่อนจะมี 2 ส่วนคือส่วนที่อยู่ด้านนอกเรียกว่าเสื้อลูกเลื่อน โดยจะหุ้มตัวลูกเลื่อนด้านในไว้ และลูกเลื่อนด้านในจะหมุนตัวได้เพื่อขัดกลอน-ปลดกลอนกับส่วนท้ายลำกล้อง โดยจะปลดกลอนด้วยแรงเฉื่อยของเสื้อลูกเลื่อน เบเนลลี่เรียกระบบขัดกลอนแบบนี้ของตัวเองว่า "อินเนอร์เทีย" การทำงานก็จะมีวงจรดังนี้เอ็งลองนึกภาพตามนะ
เมื่อเราเหนี่ยวไกยิง พอกระสุนลั่นออกไปตัวปืนก็จะต้องเคลื่อนตัวถอยหลังตามแรงรีคอยล์มาทั้ง กระบอก รวมถึงตัวคนยิงเองก็จะโดนปืนผลักให้ถอยหลังมาด้วยเป็นระยะสั้นๆ ต่อจากนั้นธรรมชาติของเรา เวลายิงปืนเราก็จะต้องฝืนตัวเองเพื่อต้านแรงรีคอยล์ใช่ไหม เมื่อเราฝืนตัวต้านเอาไว้ ตัวปืนก็จะต้องหยุดการถอยหลังไปพร้อมกับเราด้วย
แต่ว่าตัวเสื้อลูกเลื่อนจะยังเคลื่อนถอยหลังต่อไปเพราะยังมีพลังงานสะสมอยู่ สปริงรีคอยล์ที่ยันเสื้อลูกเลื่อนเอาไว้ทางด้านหลังก็ไม่ได้แข็งแรงมากมายอะไร จึงยันเสื้อลูกเลื่อนไว้ไม่อยู่ ทำให้เสื้อลูกเลื่อนถอยหลังต่อไป พร้อมกันนั้นก็ได้ส่งแรงต่อไปยังลูกเลื่อนด้านในให้หมุนตัวปลดกลอนจากท้ายลำ กล้อง แรงดันในรังเพลิงก็จะดันปลอกกระสุนและลูกเลื่อนถอยหลังจนสุดระยะ ปลอกกระสุนก็จะกระเด็นออกจากตัวปืน  สปริงรีคอยล์ที่หดตัวจนสุดก็จะดันลูกเลื่อนให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้าดัน กระสุนนัดใหม่เข้ารังเพลิงแล้วหมุนตัวขัดกลอนกับท้ายลำกล้อง พร้อมยิงนัดที่สองต่อไป
สำหรับปืนระบบนี้ถ้าเรายันตัวปืนแบบที่ไม่ ยอมให้ตัวปืนถอยหลังเลย อย่างเช่นเอาพานท้ายยันกับต้นไม้หรือกำแพง ปืนก็จะไม่คัดปลอกเพราะเมื่อตัวปืนไม่ถอยหลังเลย ก็จะไม่มีพลังงานสะสมอยู่ในเสื้อลูกเลื่อน เมื่อไม่มีพลังงานมากระทำมันก็ไม่เคลื่อนที่ และถ้าเสื้อลูกเลื่อนไม่เคลื่อนที่เสียอย่างเดียวก็จะพลอยทำให้ไม่เกิดแรงไป บริหารกลไกอื่นๆ
และในทางตรงข้ามถ้าปล่อยให้ปืนถอยหลังเต็มที่โดยไม่มี การต้านให้ตัวปืนหยุดเลย เช่น ยิงในขณะที่ปืนแขวนอยู่กับเชื่อกแบบอิสระมันก็จะไม่คัดปลอกอีกเหมือนกัน เพราะเสื้อลูกเลื่อนก็จะถอยถามตัวปืนไปตลอดทาง เมื่อไม่มีแรงต้านใดๆเลยชิ้นส่วนทุกชิ้นก็ถอยหลังไปพร้อมกันทั้งหมดไม่เกิด การสะสมพลังในเสื้อลูกเลื่อนอีกเช่นเดียวกัน
สรุปแล้วข้อดีข้อเสียของปืนออโต้เป็นแบบนี้
ข้อดี
- ยิงซ้ำได้รวดเร็ว
- ใช้งานง่ายกว่าปืนปั๊ม
- แรงรีคอยล์นุ่มนวลกว่าปืนปั๊มเมื่อใช้กระสุนแบบเดียวกัน
- ในกรณีที่จำเป็นต้องยิงด้วยแขนเพียงข้างเดียว ปืนออโต้ฯสามารถยิงติดต่อกันได้โดยไม่เสียจังหวะหากเป็นปืนปั๊มที่ต้องใช้ แขนข้างนึงบริหารกลไกจะไม่สามารถทำได้
- สามารถบรรจุกระสุนเพิ่มในระหว่างการยิงได้โดยไม่ทำให้การยิงหยุดชะงัก(แบบ ปั๊มก็สามารถทำได้แต่ในระหว่างนั้นจะไม่สามารถยิงไปด้วยได้)
- สามารถยิงได้ด้วยแขนเพียงข้างเดียว
- ในท่าหมอบราบกับพื้นก็ยังสามารถยิงได้อย่างสะดวก
- ในกรณีที่ต้องการความเงียบ การขึ้นลำปืนสามารถทำได้โดยไม่เกิดเสียง (ค่อยๆผ่อนลูกเลื่อนโดยไม่ปล่อยให้ลูกเลื่อนเดินหน้าไปเต็มแรง)
ข้อเสีย (ในกรณีที่ปืนทำงานด้วยระบบแก๊สออฟเพอร์เรทซึ่งปืนลูกซองออโต้ฯส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้)
- โอกาสที่ปืนจะติดขัดมีมากกว่าปืนปั๊ม หากใช้กระสุนแรงต่ำอาจไม่คัดปลอก
- การทำความสะอาดยุ่งยากกว่าเพราะต้องทำความสะอาดรูแก๊สด้วย
- เมื่อยิงติดต่อกันหลายๆนัดความร้อนจากการยิงจะทำให้กระโจมมือร้อนเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วลูกสูบมักอยู่ในกระโจมมือ
- คราบเขม่าหรือเศษตะกั่วอาจไปอุดรูแก๊สทำให้เกิดการทำงานติดขัดได้ถ้ายิงด้วยกระสุนจำนวนมากโดยไม่ทำความสะอาด
- บางรุ่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนพานท้ายเป็นแบบอื่นๆเพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการใช้ งานได้เพราะเอาสปริงรีคอยล์ไปไว้ในพานท้าย(หรือทำได้แต่ไม่สะดวก)
- ราคาแพงกว่าปืนแบบปั๊ม

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 10:12

    1xbet korean sportsbook review - Legalbet.co.kr
    One of the first things septcasino that I noticed was that it was live betting. One of the first things that I noticed was that it was live 1xbet korean betting. One of the first things that I 바카라 사이트 noticed was that it was live betting.

    ตอบลบ